"หัวหน้างาน" ต้องเป็น "โค้ช" ด้วยหรือ ???
การพัฒนาลูกน้องนั้น มีได้หลายวิธี หลายแนวทาง ไม่ได้จำกัดเฉพาะ "การสอนงาน" หรือถ่ายทอดจากประสบการณ์อย่างเดียวเท่านั้น เพราะว่าการสอน หรือการบอกนั้น ถือว่า เป็นวิธีการที่ดี และช่วยให้ลูกน้องทำงานได้ ปฏิบัติงานได้ และเป็นวิธีที่ง่าย แต่เมื่องานที่ซับซ้อน หรืองานบางงานที่ต้องให้ลูกน้องของเรา สามารถตัดสินใจได้ คิดเองได้ "การสอน" ก็อาจจะดูยังไม่ตอบโจทย์ หรือยังไม่อาจตอบความต้องการที่จะเสริมให้ลูกน้องของเรา สามารถคิด วิเคราะห์ ตัดสินใจได้ด้วยตนเอง หรือคิดหาคำตอบเองได้ ดังนั้น หัวหน้า จึงควรต้องมีทักษะ "การโค้ช " เพิ่มเติมด้วย เพื่อที่เป็นการพัฒนาลูกน้องของเราให้เติบโต และทำงานที่ท้าทายได้
Coaching เป็นการชวนคิด เพื่อเอาดึงศักยภาพที่มีอยู่ภายในของโค้ชชี่ หรือลูกน้องของเราออกมาใช้ให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี อีกทั้งยังช่วยพัฒนาให้โค้ชชี่หรือลูกน้องของเรา ได้พัฒนาตนเอง และเกิดการคิด เกิดการตระหนักรู้ภายในตนเองขึ้นมาได้
Coaching เป็นกระบวนการที่ช่วยกระตุ้นให้สมองของโค้ชชี่ เกิดการกระตุ้น และเกิดการประมวลผล จนเกิดแผนที่ทางสมองเส้นทางใหม่เกิดขึ้น ซึ่งช่วยให้ สมองเกิดการเรียนรู้ พัฒนาเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ จะนำไปสู่ผลการทำงานที่ดีขึ้นตามมา
Coaching เป็นทักษะ ซึ่งต้องมีการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง เพื่อ สร้างการตระหนักรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ตลอดจน สร้างการตระหนักรู้ให้กับ ลูกน้องของเรา หรือ โค้ชชี่ ของเราได้
Coaching ถือว่าเป็นเครื่องมืออีกอย่างที่สำคัญ ที่จะช่วยให้หัวหน้างานหรือผู้นำ สามารถบริหารทีมงานและสร้างผลงานได้ตามเป้าหมาย หรือเกินความคาดหมายได้
และแน่นอน ในการทำงาน ไม่ว่าจะงานใด ล้วนต้องมี "เป้าหมาย" หรือ "จุดมุ่งหมาย " รวมทั้ง ทำงานให้เกิดผลงานที่ดีขึ้น การโค้ชชิ่ง จึงเป็นทักษะที่สำคัญที่หัวหน้างาน จำเป็นต้องมีเพื่อใช้ในการพัฒนาลูกน้องและช่วยให้พวกเขาเติบโต มีความสามารถเพิ่มมากขึ้น อีกทั้ง การโค้ชชิ่ง ยังช่วยในเรื่องการสร้างแรงจูงใจ และทำให้พวกเขาได้รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของผลงานนั้นและเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในเป้าหมายของทีม
บทความหน้า มารู้จักกระบวนการโค้ชที่ช่วยในการพัฒนาลูกน้องกันครับ