แชร์

เทคนิคการสร้างแรงจูงใจ ตามแบบของมาสโลว์

อัพเดทล่าสุด: 8 เม.ย. 2024
641 ผู้เข้าชม

จิตวิทยาของมาสโลว์


อับราฮัม เอช. มาสโลว์ (Abraham Harold Maslow)  เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ผู้ก่อตั้งจิตวิทยามนุษยนิยม (Humanistic psychology) แนวความคิดทางจิตวิทยาที่ให้ความสำคัญกับศักยภาพของมนุษย์  ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (Maslows hierarchy of needs)  เป็นทฤษฎีที่่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ว่าเป็นทฤษฎีที่อธิบายแรงจูงใจของมนุษย์ได้อย่างครอบคลุม และเป็นทฤษฎีที่ถูกใช้ในการสร้างแรงจูงใจของมนุษย์ที่เข้าใจได้ง่าย และไม่ว่าจะผ่านมานานหลายปีแล้ว ทฤษฎีนี้ ยังถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย และยังคงหยิบยกมาใช้กันอยู่ในปัจจุบันด้วย

สำหรับ หัวหน้างาน  ควรจะรู้จักทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ของมาสโลว์  เพราะจะช่วยให้เข้าใจถึงแรงจูงใจของลูกน้องในทีม ซึ่งหัวหน้างาน จะได้เข้าใจความต้องการของลูกน้องและสามารถบริหารจัดการให้ลูกน้องเกิดแรงจูงใจที่ดีในการทำงาน และมุ่งสู่เป้าหมายขององค์กรได้

ลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ ของมาสโลว์ ได้แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ขั้น โดยจะต้องเรียงลำดับ จากขั้นต่ำสุดไปหาสูงสุด ดังนี้


ขั้นที่ 1 ความต้องการทางกายภาพ (Physiological needs)


ความต้องการพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น อาหาร น้ำ อากาศ ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า ยารักษาโรค หากมาอธิบายถึงความต้องการของลูกน้อง หรือคนทำงาน   ความต้องการขั้นพื้นฐานของคนกลุ่มนี้ ก็คือ  ปัจจัย 4   และสิ่งที่สามารถสร้างแรงจูงใจได้ดีในขั้นนี้ ก็คือ ค่าตอบแทน หรือเงินเดือน  ที่จะช่วยทำให้พนักงาน สามารถนำมาใช้ซื้อของเพื่อดำรงชีพและเลี้ยงดูครอบครัวได้  


ขั้นที่ 2   ความต้องการความปลอดภัย (Safety needs)


ความต้องการที่จะรู้สึกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เช่น ความปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บ อุบัติเหตุ ภัยธรรมชาติ การถูกทำร้าย   หากสภาพแวดล้อม ไม่ได้ทำให้เกิดความปลอดภัยต่อร่างกาย  ทรัพย์สินหรือชีวิต  ก็อาจเป็นการลดแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานลงได้  ส่งผลทำให้พนักงานไม่อยากทำงาน หรือ สร้างผลผลิตที่ต่ำ อีกทั้ง อาจจะส่งผลให้เกิดการตัดสินใจลาออกได้  และนอกจากเรื่องความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินแล้ว  ความปลอดภัยทางจิตใจ ( Psychological safety ) และความรู้สึกมั่นคงในการทำงาน  ( Security )  ก็ถือว่า เป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานด้วยเช่นกัน  ดังนั้น  หัวหน้างาน ควรจะต้องดูแลและสร้างความรู้สึกปลอดภัยในการทำงาน ทั้งสถานที่ สภาพแวดล้อม ลักษณะงาน รวมทั้ง การดูแลทางด้านจิตใจ ไม่ทำให้เกิดความรู้สึกไม่มั่นคงต่อสภาพจิตใจ หรือทำร้ายจิตใจกัน

 

ขั้นที่ 3  ความต้องการความรักและความรู้สึกเป็นเจ้าของ (Love and belonging needs)


ความต้องการที่จะได้รับการยอมรับ ความรัก และความรู้สึกเป็นเจ้าของจากผู้อื่น เช่น ความต้องการมีครอบครัว เพื่อนฝูง รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม เพราะมนุษย์ เป็นสัตว์สังคม การได้รับการยอมรับ จากเพิ่อนร่วมงาน หัวหน้า หรือคนในองค์กร จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้พนักงานเกิดความรู้สึกที่ดีในการทำงาน   เมื่อพนักงาน ได้รับการตอบสนอง ทั้ง 2 ลำดับขั้นที่ผ่านมาแล้ว  สิ่งที่หัวหน้างาน ต้องส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานเพิ่มขึ้น คือ การสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน  มีการทำงานเป็นทีม  ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  มีการชื่นชมพนักงาน ให้กำลังใจ   สิ่งเหล่านี้ ล้วนช่วยสร้างแรงจูงใจให้กับลูกน้องและช่วยเสริมสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานให้กับพนักงานได้อย่างดีอีกด้วย  



ขั้นที่ 4  ความต้องการการยกย่องนับถือ (Esteem needs)


ความต้องการได้รับการยอมรับ ยกย่อง และนับถือจากผู้อื่น เช่น ความต้องการประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียง ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น  เมื่อพนักงานได้รับการตอบสนอง 3 ลำดับขั้นแล้ว   ความต้องการขั้นถัดไป ก็คือ การได้รับการยอมรับ และนับถือจากผู้อื่น  และเชื่อว่า พนักงานที่ผ่าน 3 ลำดับขั้นมาแล้ว  ก็คงต้องใช้เวลามาซักระยะหนึ่ง   พนักงานก็น่าจะมีประสบการณ์ที่มากขึ้น และได้รับการมอบหมายงานที่เริ่มมากขึ้นมากกว่าช่วงเริ่มทำงานใหม่แน่นอน   ดังนั้น  การให้คำชื่นชม  การยกย่อง ชมเชย  จึงเป็นสิ่งที่พนักงานต่างก็ต้องการสิ่งนี้ด้วยเช่นกัน  ซึ่งนอกจากจะได้รับเงินค่าจ้าง การประเมินผลงาน  ผลตอบแทน สวัสดิการต่างๆ  หรือ โบนัส แล้ว   คำยกย่อง คำชื่นชม คำชมเชย  ก็ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่ลูกน้องของเรา  ต่างก็ต้องการสิ่งนี้ด้วยเช่นกัน    หัวหน้างาน ไม่ควรมองข้ามสิ่งเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่นี้  กันนะครับ 

 
ขั้นที่ 5  ความต้องการการตระหนักถึงศักยภาพของตนเอง (Self-actualization needs)


ความต้องการที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเองให้สูงสุด เช่น ความต้องการแสดงออกถึงความสามารถของตนเอง แสวงหาความหมายของชีวิต  เมื่อพนักงานได้รับการตอบสนองครบทั้ง 4 ขั้นแล้ว  เมื่อมาถึงขั้นที่ 5  พนักงานก็อยากจะได้ทำงานในสิ่งที่ได้แสดงศักยภาพออกมาอย่างเต็มที่  รวมทั้งได้ทำในสิ่งที่ใจต้องการ   ดังนั้น หากลูกน้องมาถึงลำดับขั้นนี้แล้ว  หัวหน้าก็ควรจะต้องสิ่งเสริมให้พวกเขาเหล่านี้ ได้แสงความสามารถออกมาได้อย่างเต็มที่   และสังเกตุว่า เมื่อลูกน้องมาถึงขั้นนี้แล้ว  เรื่องเงิน หรือค่าตอบแทน  ไม่ใช่ สิ่งที่เค้าต้องการเป็ฯลำดับแรกแล้ว  เพราะเค้าได้รับการเติมเต็มครบแล้ว  สิ่งที่พวกเขาต้องการ คือ การได้ทำสิ่งที่อยากทำ และเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ หรือเพื่อนร่วมงานอย่างแท้จริง 


ทฤษฎีนี้ มาสโลว์ได้วางเงื่อนไขไว้ 2 ข้อ ด้วยแนวคิดที่ว่า

  1. ความต้องการทั้ง 5 ขั้นจะเกิดขึ้นตามลำดับ จาก ลำดับขั้นที่ 1  ไปลำดับขั้นที่ 5 เสมอ
  2. ตราบเท่าที่คนคนนั้นยังไม่รู้สึกว่าความต้องการในลำดับขั้นต่างๆ ได้รับการเติมเต็มแล้ว  จะไม่มีการก้าวข้ามไปยังความต้องการลำดับขั้นต่อไป


เมื่อหัวหน้างาน  พอเข้าใจทฤษฎีนี้แล้ว  ก็ลองนำไปปรับใช้กัน ได้นะครับ  และที่สำคัญ อย่าลืม ความต้องการขั้นพื้นฐาน ขั้นที่ 1  ให้เติมเต็มก่อนนะครับ  ทำอย่างไร จะช่วยให้พนักงานมีความสามารถ หรือมีโอกาส ที่จะเพิ่มเรายได้  เพิ่มผลตอบแทนจากการทำงานได้เพิ่มมากขึ้น  เพื่อให้เพียงพอต่อการเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว   เพราะตราบใด  หากรายได้ที่ได้รับในแต่ละเดือน  ยังไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวได้  อย่าเพิ่งไปออกแบบระบบจูงใจในลำดับขั้นถัดไปนะครับ  เพราะว่า พนักงานเหล่านี้ คงยังไม่มีมองไปถึงขั้นถัดไปอย่างแน่นอน

 #พี่เลี้ยงหัวหน้างาน 


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy